"Amino Spiking" "อะมิโนสไปกิ้ง" หรือ "สารโกงค่าโปรตีน" คืออะไร มีผลต่อเวย์ที่คุณทานอย่างไร
by Health Fit with Chloe | Chloe Channel
สวัสดีคะ ทุกท่าน วันนี้บล็อก Health Fit with Chloe อยากนำเสนอข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ Amino Spiking เพราะเนื่องจากตอนนี้ นักเพาะกายและหนุ่มๆสาวๆที่สนใจอยากจะมีกล้ามเนื้อและรูปร่างที่กระชับแข็งแรงกันมากขึ้น แน่นอนว่าเราไม่สามารถมีรูปร่างที่แน่นสัดส่วนของกล้ามเนื้อได้ถ้าหากทานอาหารปกติธรรมดา การทานอาหารเสริมโปรตีนหรือเวย์โปรตีนนั้นจะมีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้ออย่างมาก มีหลายที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Amino Spiking ไว้ว่าอาจมีสารนี้ปนมาให้อาหารเสริมโปรตีนได้ และแน่นอนว่าสารเหล่านี้มีผลต่อการสร้างกล้ามเนื้อของผู้ทานและมีผลต่อร่างกายไม่มากก็น้อย ก่อนจะทานเวย์โปรตีนกันอย่างต่อเนื่องแล้วการพิจารณาแบรนด์แต่ละยี่ห้อ ความน่าเชื่อถือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนทานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
Health Fit with Chloe ขอนำเนื้อหาแปลจากบทความในเว็บ supplementlabtest.com มาฝากกันนะคะ อาจมีข้อมูลจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้หากมีข้อมูลใดผิดไปบางก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
อะไรคือ "Amino Spiking" ในอาหารเสริมโปรตีน?
ในปี 2014 มีบริษัทอาหารเสริมมากมายที่อะมิโนสไปกิ้ง (Amino Spiking) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนปรากฏการนี้เกิดขึ้นเพราะราคาของโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นในปีหลังๆนี้ และมีบริษัทคู่แข่งเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆเช่น การวัดปริมาณส่วนประกอบแห้ง และการเติมกลิ่นและรสชาติที่มากเกินไป
Amino Acid ราคาถูก เช่น Glycine และ Taurine ถูกนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์โปรตีนเพื่อที่จะเพิ่มปริมาณไนโตรเจน (Nitrogen Content) ในกรณีที่กล่าวมานี้คือการปลอม % โปรตีนที่แท้จริงนั่นเอง โดยมากแล้ว Amino Acid ที่ใส่เพิ่มเข้าไปนี้ไม่ได้ถูเลเบลไว้ในฉลาก Creatine และสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nitrogen-Containing Substances) อื่นๆ ก็ถูกใช้ในการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนและ % โปรตีน
บางครั้งมันก็ง่ายที่จะวัดค่า Amino Spiking ในบางบริษัทก็ได้ใส่ Amino Spiking ที่เติมลงไปในฉลากเนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสารเหล่านี้มีผลต่อปริมาณโปรตีนอย่างไร ดังนั้นเราผู้บริโภคจึงควรดูฉลากว่ามีรายการ Amino Acid เหล่านี้ Creatine หรือแหล่งโปรตีนราคาถูกหรือไม่
Amino Acids และการตรวจวัด
เมื่อสารที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจน (Nitrogen-Containing Substances) เหล่านี้ไม่ได้ถูกระบุไว้ในฉลาก และเมื่อมีการวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน (Amino Acids) Glycine Taurin และ Alanine เป็นกรดอะมิโนส่วนใหญ่ที่ถูกเติมเข้าไปในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีน เหตุผลของการเติมสารเหล่านี้เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างถูกมากกว่า Amino Acids ชนิดอื่นๆ รวมทั้งเวย์โปรตีนเองด้วย ในที่สุดแล้วสารเหล่านี้ช่วยให้ทำให้ราคาถูกลง ทำให้ผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนของผู้ผลิตถูกลงเมื่อเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่น
การเติม Amino Spiking เพียงตัวเดียวนั้นง่ายต่อการตรวจพบ ที่สหรัฐอเมริกานั้นได้มีคดีหลายคดีที่มีการฟ้องร้องกันเรื่องความไม่เป็นธรรมในเรื่องนี้
โปรตีนวัว
บริษัทผู้ผลิตที่หิวเงินได้สร้างสิ่งใหม่ในตอนนี้ และสิ่งๆนั้นไม่ใช่อะไรที่เป็นเนื้อหรือโปรตีนที่ได้จากเนื้อ แต่มันคือ "Collagen Hydrolysate" สารนี้ได้มาจากส่วนประกอบของสัตว์ส่วนมากได้จากหมูหรือวัว ส่วนของผิวหนัง เอ็น และกระดูก แต่สารนี้ก็ได้มาจากสัตว์ ดังนี้ผู้ผลิตจึงเรียกมันว่า"โปรตีนวัว" หรือ "โปรตีนจากวัว" มี Amino Acids จำนวนมากที่ถูกใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์เพื่อทำให้ค่าโปรตีนนั้นสูงขึ้น ซึ่งทำให้โปรตีนนั้นไม่เป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่เข้ากันมากขึ้น การวิเคราะห์ไนโตรเจนนี้จะไม่สามารถพบความแตกต่างนี้ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ผลิตจะได้กำไรอย่างมากจากผู้บริโภค
ตามสัดส่วนองค์ประกอบในตารางด้านล่าง เราสามารถจะระบุได้ว่าเป็น Amino Acids อะไรหลังจากทำ Amino Analysis สัดส่วน คอลลาเจน (Collagen) และเนื้อ (Meat) ของ Amino Acids แต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันทำให้เราสามารถจะระบุได้ว่าเป็น Amino Acids ชนิดใด สารเหล่านี้สามารถเติมลงในเวย์โปรตีนได้ และคุณสามารถเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่ปริมาณ Glycine นั้นจะมีมากขึ้นแต่ Alanine Proline และ Hydroxyproline จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นบนฉลากจะมีการระบุ Amino Acid นั้นไว้อย่างชัดเจน
ตารางแสดงสัดส่วนองค์ประกอบของ Collagen และ Meat ใน Amino Acids แต่ละตัว
Amino acids | Collagen | Meat |
Glycine | 32,9 % | 6,26 % |
Proline | 12,6 % | 4,90 % |
Alanine | 10,9 % | 6,25 % |
Hydroxyproline | 9,5 % | 1,08 % |
Glutaminezuur | 7,4 % | 15,43 % |
Arginine | 4,9 % | 6,65 % |
Asparginezuur | 4,7 % | 9,36 % |
Serine | 3,6 % | 4,05 % |
Lysine | 2,9 % | 8,68 % |
Leucine | 2,4 % | 8,18 % |
Valine | 2,2 % | 5,10 % |
Threonine | 1,9 % | 4,11 % |
Phenylalanine | 1,3 % | 4,06 % |
Isoleucine | 1,1 % | 4,67 % |
Hydroxylysine | 0,6 % | 0 % |
Methionine | 0,6 % | 2,68 % |
Histidine | 0,5 % | 3,28 % |
Tyrosine | 0,3 % | 3,27 % |
Cysteine | 0,1 % | 1,33 % |
Tryptofaan | 0 % | 0,67 % |
จากที่อธิบายกันมาพอสมควรนะคะ เราเองผู้บริโภคก็สามารถอ่านส่วนประกอบโดยดูจากชนิดของโปรตีนที่ใส่ แต่ทั้งนี้บางแบรนด์ที่อาจจะไม่ได้มาตรฐานอาจใส่ Amino Spiking หลายตัว และอาจจะไม่ได้มีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณ Nitrogen จริงๆ อาจจะอ้างว่าตรวจแล้ว แน่นอนคะว่าเค้าผู้ขายหรือผู้ผลิตเองต้องบอกแบบนั้นกับผู้บริโภคอย่างเราๆอยู่แล้ว แล้วอะไรล่ะที่น่าเชื่อถือ ส่วนตัวแล้วขอแนะนำให้เลือกทานผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกดีกว่าคะ เสียเงินเพิ่มอีกนิด ชีวิตยืนยาวกว่าคะ เราทานเองก็ควรทานอะไรที่สบายใจและมีคุณภาพดีกว่านะคะ
สำหรับใครที่ชอบบทความนี้หรือเห็นว่าดีมีประโยชน์ก็อย่าลืมติดตามหรือแชร์บทความให้เพื่อนๆอ่านกันนะคะ อย่าลืมติดตาม Health Fit with Chloe กับบทความใหม่เกี่ยวกับสุขภาพกันนะคะ สวัสดีคะ
#muscle #musclebuilder #bodybuilder #goodshape #goodhealth #healthfit #aminospiking #whey #wheyprotein
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น